นาโตส่งสัญญาณเริ่มฝึกนักบินยูเครน ใช้ F-16 เดือนหน้า

แม้ว่าชาตินาโตจะสร้างความผิดหวังให้แก่ยูเครน เพราะไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการรับเข้าเป็นสมาชิกนาโตได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชาตินาโตยังหนักแน่นชัดเจนคือ การสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ายูเครนจะสามารถปกป้องตนเองได้และชนะสงครามครั้งนี้ นอกจากการส่งมอบอาวุธแล้ว ล่าสุดชาติพันธมิตรออกมายืนยันว่าพร้อมเริ่มการฝึกนักบินยูเครน ใช้เครื่องบินรบสัญชาติตะวันตกแล้ว

รัสเซียเตือนตะวันตก ไม่ควรส่งเครื่องบิน F-16 ให้ยูเครน

ยูเครนอาจได้รับ F-16 จากชาติพันธมิตรเพื่อปิดฉากสงคราม

เมื่อวานนี้ คายซา โอลองเกรน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์ และยาคอบ เอลเลมันน์-เยนเซน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเดนมาร์ก ได้ออกแถลงร่วมกัน หลังจากการประชุมนอกรอบที่การประชุมสุดยอดผู้นำนาโตเสร็จสิ้น

ทั้งคู่ระบุว่ากลุ่มชาติพันธมิตรเครื่องบินรบจำนวน 11 ชาติ จะเริ่มการฝึกนักบินยูเครนให้ใช้เครื่องบินรบสัญชาติตะวันตกช่วงแรกที่ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนสิงหาคมนี้

ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์กล่าวเสริมว่า ชาติพันธมิตรจะเริ่มต้นกระบวนการต่างๆ ที่ประเทศโรมาเนียก่อน เนื่องจากเป็นสถานที่ชาติพันธมิตรจะจัดตั้งศูนย์อบรมกลางไว้ และหลังจากที่ศูนย์สร้างเสร็จสิ้น การอบรมทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ศูนย์แห่งนี้

การออกมาประกาศของรัฐมนตรีกลาโหมเนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก มีขึ้นหลังจากที่โอเล็กซี เรซนิคอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครน ออกมาประกาศว่า ชาติพันธมิตร 11 ชาติ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ โรมาเนีย เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร เบลเยียม โปแลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคนาดา นอร์เวย์ สวีเดน และโปรตุเกส ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับยูเครน ตลอดจนลงนามในบันทึกกรอบข้อตกลงเรียบร้อย

รัฐมนตรีกลาโหมยูเครนระบุว่า นักบิน ช่างเทคนิค และเจ้าหน้าที่สนับสนุนของยูเครนจะเข้าร่วมในโปรแกรมการฝึกอบรมกับชาติพันธมิตร และมีความเป็นไปได้ที่การฝึกจะรวมไปถึงเครื่องบินรบรุ่นอื่นๆ ตลอดจนชาติพันธมิตรพร้อมจะพิจารณาวิธีการอื่นๆ เพื่อให้นักบินยูเครนสามารถใช้เครื่องบินรบ F-16 ได้อย่างเต็มที่

หลายฝ่ายรวมถึงยูเครนมองว่า การประกาศเริ่มฝึกนักบินในครั้งนี้ถือเป็นข่าวดีที่ยูเครนเฝ้ารอมานาน เนื่องจากยูเครนเคยร้องขอเครื่องบินรบจากชาติตะวันตกมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

โอเล็กซี เรซนิคอฟ ได้ระบุกับผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์สว่า ยูเครนต้องการเครื่องบินรบสัญชาติตะวันตกเพื่อปกป้องพลเรือน ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ รวมถึงโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจากการโจมตีทางอากาศของรัสเซีย

วิลเลียม คอร์ตนีย์ นักวิจัยอาวุโสประจำแลนด์คอร์เปอเรชัน สถาบันวิจัยไม่แสวงหาผลกำไรของสหรัฐฯ ระบุว่า เครื่องบินรบ F-16 จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพของระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินที่ยูเครนมีอยู่ เช่น ระบบแพทริออต หรือ ระบบนาซาม

เนื่องจากเครื่องบินรบ F-16 จะมองเห็นวัตถุในอากาศได้ในยะไกลกว่าที่เรดาร์ของระบบป้องกันภัยทางอากาศจะทำได้ และระบบเรดาร์ของเครื่องบินรบ F-16 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องบินรุ่นมิก-29 ที่ยูเครนใช้อยู่ตอนนี้

ทั้งนี้ สำหรับในบางกรณี อาวุธที่เครื่องบินรบ F-16 ใช้เพื่อสกัดวัตถุทางอากาศเช่นโดรนพลีชีพหรือขีปนาวุธ จะมีราคาถูกกว่าจรวดของระบบป้องกันภัยทางอากาศแพทริออต

นอกจากจะต้องการใช้เครื่องบินรบ F-16 ปกป้องน่านฟ้าแล้ว กองทัพอากาศยูเครนยังต้องการเครื่องบินรบรุ่นนี้ทำปฏิบัติการร่วมกับกองทัพภาคพื้นดินเพื่อยึดดินแดนต่างๆ คืนจากรัสเซีย

พลเอกฟิลลิป บรีดเลิฟ อดีตผู้บัญชาการสูงสุดทางการทหารขององค์การนาโต และอดีตนักบิน F-16 ระบุว่า การครองน่านฟ้าสำคัญมากต่อการทำปฏิบัติการร่วมกับกองทัพภาคพื้นดิน

กระบวนการทำปฏิบัติการร่วมจะเริ่มจากการใช้ปืนใหญ่โจมตีเพื่อลดการป้องกันของศัตรูในระยะไกล จากนั้นใช้รถถังและยานรบทหารราบเจาะเกราะป้องกัน ก่อนที่จะส่งทหารราบเข้าปะทะและทำลายกองกำลังภาคพื้นดิน ขณะเดียวกันก็ช่วยปกป้องอาวุธของตนเอง ส่วนเครื่องบินรบจะสนับสนุนการยิงและทำให้กองทัพเคลื่อนได้ใกล้และลึกประชิดศัตรูมากขึ้นคำพูดจาก ว็บสล็อตต่างประเทศ

ตอนนี้ทหารของยูเครนได้เรียนรู้กระบวนการฝึกรบปฏิบัติการร่วมจากชาติพันธมิตรตะวันตกแล้ว ดังนั้นการฝึกใช้เครื่องบิน F-16 จะเข้ามาปิดช่องว่างของปฏิบัติการร่วมดังกล่าว และสิ่งสุดท้ายที่ยูเครนจำเป็นต้องมี คือ หน่วยสืบราชการลับระดับสูง ที่สามารถค้นหาตำแหน่งศัตรูและประสานงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการทำปฏิบัติการร่วมจะได้ผลตามที่วางไว้

อย่างไรก็ดี นักวิชาการบางส่วนก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องบินรบ F-16 ไม่ใช่ Silver bullet หรืออาวุธเพียงชนิดเดียวที่พลิกสถานการณ์สงครามได้ เนื่องจากการใช้เครื่องบิน F-16 เพื่อหวังครองน่านฟ้ามีปัจจัยหลายข้อที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ

ประเด็นสำคัญคือ เครื่องบินรบ F-16 เป็นเครื่องบินที่ทันสมัยมากขึ้นสำหรับยูเครน แต่เมื่อนำไปใช้อาจเสียเปรียบรัสเซียได้ เนื่องจากถ้าต้องสู้กันบนอากาศ เครื่องบินรบมิก-31 และซู-35 ของรัสเซีย สามารถตรวจจับศัตรูได้ไกลกว่าด้วยเรดาร์ที่ดีกว่า รวมทั้งยังมีขีปนาวุธ R-37 ที่สามารถโจมตีได้ไกลถึง 300 กิโลเมตร ซึ่งไกลกว่าขีปนาวุธ AIM-120 ที่นาโตจัดหาให้ยูเครน

นี่หมายความว่า หากจะใช้สู้รบกับกองทัพอากาศรัสเซียเพื่อครองน่านฟ้า ยูเครนอาจจำเป็นต้องมีอาวุธที่เหนือกว่าอย่าง AGM-158 ขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นปกติ มีพิสัยทำการที่ 370.4 กิโลเมตร ซึ่งสหรัฐฯ ยังลังเลที่จะมอบขีปนาวุธรุ่นนี้ให้แก่ยูเครน เพราะสามารถโจมตีไปได้ไกลถึงคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งเป็นเส้นแดงที่รัสเซียขีดไว้ว่าห้ามโจมตีโดยเด็ดขาด

นอกจากการฝึกซ้อมใช้เครื่องบินรบรุ่น F-16 แล้ว เมื่อวานนี้เอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ออกมาประกาศขณะที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำนาโตว่าฝรั่งเศสมอบขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นสกัลป์ไปให้ยูเครน นี่ทำให้ฝรั่งเศสเป็นชาติที่สองต่อจากสหราชอาณาจักรที่มอบขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน อย่างไรก็ดี ล่าสุดมีกระแสข่าวออกมาว่า สหรัฐฯ ก็กำลังพิจารณาเรื่องการส่งขีปนาวุธพิสัยไกลไปให้ยูเครนเช่นเดียวกัน

เมื่อวานนี้ สำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ สองราย และเจ้าหน้าที่ยุโรปหนึ่งรายอ้างว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังอภิปรายประเด็นความเหมาะสมในการส่งระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีของกองทัพบก (ATACMS) ไปให้ยูเครน

ระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีของกองทัพบก (ATACMS) เป็นขีปนาวุธพิสัยไกล มีพิสัยทำการได้ไกล 300 กิโลเมตร สามารถยิงได้ครั้งละ 1 ลูก เมื่อใช้ระบบไฮมาร์ส (HIMARS) เป็นเครื่องยิง

กระแสข่าวเรื่องการส่งระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีของกองทัพบกให้ยูเครนนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพร้อมกับกระแสข่าวการส่งกระสุนระเบิดลูกปรายให้ยูเครน ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศส่งความช่วยเหลือชุดใหม่ให้แก่ยูเครนโดยมีเพียงแค่กระสุนระเบิดลูกปรายเท่านั้น ไม่มีระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีของกองทัพบก ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ อาจถกประเด็นนี้อย่างจริงจังตามรายงานของสำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์

ส่วนสาเหตุที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงยังคงอภิปรายเรื่องการส่งอาวุธพิสัยไกลชนิดนี้ให้ยูเครนเป็นเพราะสหรัฐฯ มีอาวุธชนิดนี้ในคลังค่อนข้างน้อย แม้จะมีบริษัทล็อกฮีด มาร์ติน ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐฯ เองคอยผลิตให้ก็ตาม หากสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งขีปนาวุธพิสัยไกลชนิดนี้ไป อาจทำให้สหรัฐฯ มีอาวุธไม่เพียงพอที่จะรับมือกับภัยคุกคามที่อยู่ในภูมิภาคอื่นๆ ได้

นอกจากนี้ สหรัฐฯ อาจกังวลว่าการส่งอาวุธพิสัยไกลนี้ไปให้แก่ยูเครนจะทำให้รัสเซียไม่พอใจและยกระดับความรุนแรงของสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากขีปนาวุธทางยุทธวิธีของกองทัพสหรัฐฯ สามารถโจมตีคาบสมุทรไครเมียได้

ขณะที่ชาติตะวันตกประกาศเพิ่มอาวุธและประสิทธิภาพการรบให้ยูเครน ล่าสุดเมื่อวานนี้ก็มีความเคลื่อนไหวจากฝั่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียออกมาเช่นเดียวกัน

เมื่อวานนี้ กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เผยแพร่ภาพพลเอกเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีวกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ขณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงงานผลิตอาวุธทางทหารหลายแห่งที่ตาตาร์สถานในเขตสหพันธ์วอลกา ทางตะวันตกของรัสเซีย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมรัสเซียยังได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อเป็นครั้งแรก หลังเกิดเหตุการณ์ความพยายามก่อกบฏโดยหัวหน้ากลุ่มแวกเนอร์เมื่อเดือนที่แล้ว ในบทสัมภาษณ์ พลเอกชอยกูระบุว่ายูเครนไม่ประสบความสำเร็จในการเปิดแนวรบโต้กลับรัสเซีย และวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียก็ได้รับฟังรายงานสรุปการรบจากผู้บัญชาการทางการทหารอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน แม้ว่าผู้นำรัสเซียจะมีภารกิจเยอะก็ตาม

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมรัสเซียยังได้พูดถึงประเด็นการส่งระเบิดลูกปรายของสหรัฐฯ ไปยังยูเครน โดยระบุว่า รัสเซียก็จะใช้ระเบิดลูกปรายกับทหารยูเครนเช่นเดียวกัน และระเบิดลูกปรายที่รัสเซียใช้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าของชาติตะวันตก

จากท่าทีของชาติตะวันตก ยูเครน และรัสเซีย ชัดเจนว่าสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้ ยังคงไร้หนทางแห่งสันติภาพ เพราะทุกฝ่ายมีเดิมพันที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกับรัฐบาลรัสเซีย

เมื่อวานนี้ โอเล็ก ออร์ลอฟ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวรัสเซีย หนึ่งในแกนนำ “เมโมเรียล” องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเพื่อตรวจสอบและเปิดเผยเหตุอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในสมัยของโจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตในช่วงปี 1922-195 ระบุว่า อนาคตของรัสเซียขึ้นอยู่กับสงครามในยูเครน หากระบอบปัจจุบันคงอยู่นานเท่าใด รัสเซียก็จะยิ่งถอยหลังเรื่อยๆ ในทางกลับกัน สงครามจะทำให้ประธานาธิบดีปูตินกระชับอำนาจและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ

By admin

Related Post