เปิดความเสี่ยงเอกชนซื้อบอลโลก หลังปรับกฎ "Must Have"

มีรายงานว่าฟุตบอลโลก 2 ครั้งล่าสุด ที่รัสเซีย และ กาตาร์ ฟีฟ่าทำเงินจากค่าลิขสิทธิ์ทะลุ 60,000 ล้านบาท สาเหตุที่ลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกมีราคาแพงขึ้นทุกครั้งเพราะ ต้นทุนของการเป็นเจ้าภาพสูงขึ้น ทั้งการสร้างสนามใหม่ เช่นฟุตบอลโลกที่กาตาร์มีการสร้างสนามใหม่ถึง 7 สนาม รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่ง

นอกจากนี้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกถือเป็นรายได้หลัก ของฟีฟ่า นอกเหนือจาก สปอนเซอร์ ขณะที่รายได้จาการขายตั๋วแต่ละครั้งสูงสุดจะอยู่ที่ประมาณ 25 % เท่านั้น

เปิดความเสี่ยงเอกชนซื้อบอลโลก หลังปรับกฎ "Must Have"

อ่านข่าว :กสทช.ถอด “ฟุตบอลโลก” จากกฎ “Must Have”คำพูดจาก สล็อตทดลองเล่นฟรี

ไทยซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2018 ในราคา 1,200 ล้านบาท ส่วนในปีที่แล้วไทยต่อรองได้ในราคา ราคา 1,400 ล้านบาท จากราคาที่ บริษัทอินฟรอนท์ในสิงคโปร์เสนอในช่วงแรก 1,600 ล้านบาท

ส่วนฟุตบอลโลก 2026 ซึ่งมีทีมเพิ่มจาก 32 เป็น 48 ทีม จำนวนนัดการแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็น 104 นัด หากซื้อครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม คาดว่าราคาจะทะลุ 2,000 ล้านบาทอย่างแน่นอนคำพูดจาก สล็อตแตกง่าย

ทั้งนี้ ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมา คนไทยได้ดูฟุตบอลโลกทางฟรีทีวี เนื่องจาก กสทช.ให้เงินอุดหนุน 600 ล้านบาท ซึ่งฟุตบอลโลกเป็น 1 ใน 7 รายการสำคัญที่อยู่ในกฎ “Must Have” ประชาชนต้องได้ดูเป็นการทั่วไป

ปัญหาการเจรจาในโค้งสุดท้ายเกิดขึ้นหลังจากไม่มีเอกชนรายใดกล้าลงทุนซื้อ เนื่องจากไม่คุ้มค่าในการทำแผนการตลาด ซื้อมาแล้วต้องหาช่องทางออกอากกาศทางฟรีทีวี ต้องหาโฆษณา ซึ่งเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นไปอีก สุดท้าย กสทช.ต้องออกเงินช่วย ในเวลากระชั้นชิดก่อนเปิดฉากไม่กี่วัน

ออกข่าว :”ไทย” รั้งอันดับ 101 โลก ฟีฟ่า แรงกิ้ง เดือน เม.ย.2024

กสทช.จึงตัดสินในถอดฟุตบอลโลกออกจากกฎ “Must Have” เพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่เนื่องจากราคาลิขสิทธิ์แพงขึ้นทุกครั้ง ถึงจะถอดออกจาก กฎ “Must Have” ก็อาจไม่มีเอกชนกล้าลงทุนเช่นกัน แต่หลายคนยังเชื่อว่าเอกชนอาจจะกล้าลงทุนเพราะเมื่อถอดไปจาก กฎ “Must Have” ก็ทำการตลาดได้เต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่าคนไทยจะไม่ได้ดูฟุตบอลโลกฟรี

ครั้งที่ผ่านมา บริษัทอินฟรอนท์ ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเอเจนซี่ในภูมิภาคเอเชีย ขายลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกให้ไทยแบบ ฟูลออปชั่น ทุกแพลตฟอร์ม ทำให้มีราคาแพง

แต่ครั้งนี้ถ้าเอกชนรีบ ดีล ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะมีทางเลือกให้เลือก เช่นการซื้อลิขสิทธิ์เฉพาะในแพลตฟอร์ม ออน Mobile ผ่านการรับชมทางแอปพลิเคชั่น ซึ่งมีโอกาสทำการตลาดได้ไม่ยาก เพราะลิขสิทธิ์ทาง Mobile จะถูกกว่า ฟรีทีวี อย่างน้อย 5 เท่า แต่เชื่อว่าแฟนบอลก็ต้องดูฟุตบอลโลกแบบมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน

ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการขายลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกให้แต่ละประเทศถูกตั้งราคาไม่เท่ากัน เฉพาะในอาเซียน ไทย กับ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์แพง โดยสิงคโปร์ซื้อครั้งที่แล้วกว่า 2,000 ล้านบาท ขณะที่มาเลเซียใช้เงินเพียง 261 ล้านบาท ถ่ายทอดสด 26 นัด ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินขนาดทางเศรษฐกิจ และระยะเวลาในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์

อ่านข่าวอื่น ๆ

กสทช.ถอด “ฟุตบอลโลก” จากกฎ “Must Have”

By admin

Related Post