นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นตามโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมประกันภัยปรับเปลี่ยนองค์กร เป็น Digital Insurance ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมประกันภัยปรับเปลี่ยนองค์กรเป็น Digital Insurance ในเบื้องต้น พร้อมทั้งเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาคมโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น โดยการสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง จัดขึ้น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า คปภ.มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมประกันภัยปรับเปลี่ยนองค์กร เป็น Digital Insurance โดยได้จัดให้มีการ เปิดตัวโครงการนี้เมื่อช่วงเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา โดยที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านกฎหมาย คณิตศาสตร์ประกันภัย บริหารความเสี่ยง ด้านการตลาด และด้าน IT ได้มีการทบทวนสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 รวมถึงกฎหมายประกันภัยของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
มีการนำข้อเสนอแนะของ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในการประเมินด้านการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยมาพิจารณา มีการวิเคราะห์โครงสร้างตลาดประกันภัยทางเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์และเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นต้น และที่สำคัญได้มีการทำสำรวจเกี่ยวกับ Digital Insurance ของบริษัทประกันภัยไทย และมีการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในหลากหลายภาคส่วน ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและเป็นการสร้างความเข้าใจเบื้องต้นให้กับผู้มีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมประกันภัยไทย สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดการสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวขึ้น ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการศึกษาโดยอาจารย์พฤทธิพร นครชัย จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของที่ปรึกษาศศินทร์ฯ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การกำกับดูแล เสนอแนะให้กำกับดูแลให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมมีสภาพแวดล้อมที่สามารถแข่งขันได้เท่าเทียมกัน อาทิ การเปิดเสรีให้มีการแข่งขันกับต่างประเทศ หรือการแข่งขันระหว่างบริษัทประกันภัยดิจิทัล และบริษัทประกันภัยแบบดั้งเดิม เช่น การขออนุมัติหรือการมี Fast Track ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ และควรดึงดูดบริษัทประกันภัยต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ รวมทั้งควรเพิ่มความยืดหยุ่นในการกำกับดูแลเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัลในอนาคต โดยเสนอแนะให้สำนักงานฯ เร่งดำเนินการตามแผนการปรับการกำกับดูแล ให้เป็น Principle หรือ Objective Based มากขึ้น เช่น การกำกับดูแลแบบ Portfolio ตามระดับชั้นของความสามารถความเสี่ยงและความเข้มแข็งทางการเงินรวมทั้งขั้นตอนการอนุมัติผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเน้นความเสถียรของระบบและความปลอดภัยมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย
ด้านที่ 2 แนวทางการส่งเสริมดิจิทัล อาทิ ส่งเสริมให้มีผู้บริหารด้านดิจิทัลของบริษัทประกันภัยมาจากอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยแนวทางควรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในด้านเทคนิครวมถึง Mindset ของตลาดและการดำเนินธุรกิจดิจิทัลอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งควรมีการสร้าง Platform กลาง ที่บริษัทประกันภัยสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น TFRS17 ที่มีการลงทุนสูง เป็นต้น โดยสำนักงาน คปภ. อาจเปิดโอกาสให้ Startup ที่มีความสามารถเข้ามาเป็นผู้จัดทำ Platform กลาง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย ลดการฉ้อฉลประกันภัยและต้นทุนบริษัทประกันภัย ลดภาระในการแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบภายในสำนักงานฯ และลดการลงทุนด้านข้อมูลที่ซับซ้อน โดยอาจมีการเชื่อมต่อข้อมูลที่สำคัญในธุรกิจร่วมด้วย นอกจากนี้ สำนักงานฯ อาจพิจารณาการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะที่จำเป็น เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยอาจมีโครงการ Actuary Junior และควรมีการประชุมกับภาคธุรกิจอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อทราบความเป็นไปปัญหาและอุปสรรคในการหาทางออกหรือแก้ไขร่วมกัน ตลอดจนดำเนินการร่วมกับภาครัฐอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในด้านต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับโรงพยาบาลเอกชน และแก้ไขกฎหมายที่ปลดข้อจำกัดทางด้านการดำเนินงานด้านดิจิทัล รวมไปถึงการควบรวมบริษัทประกันภัย เป็นต้น